ความยุ่งยากในสาธารณรัฐเขมร (พ.ศ. 2515 – 2518) ของ สงครามกลางเมืองกัมพูชา

การต่อสู้เพื่อความอยู่รอด

อนุสรณ์สงครามในกัมพูชา: รถถังของโซเวียต

ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 – 2517 สงครามเกิดขึ้นทางเหนือและทางใต้ของเมืองหลวงการต่อสู้จำกัดเพียงการรักษาการเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ปลูกข้าวทางตะวันตกเฉียงเหนือ และเส้นทางหมายเลข 5 ไปยังดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นทางที่ติดต่อไปยังเวียดนามใต้ ส่วนกลยุทธของเขมรแดง ต้องการตัดการติดต่อในทุกทางเพื่อโดดเดี่ยวพนมเปญ ในที่สุดกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐเขมรจึงแตกเป็นส่วนไม่สามารถได้รับการสนับสนุนได้ การช่วยเหลือของสหรัฐส่วนใหญ่เป็นการทิ้งระเบิดและเครื่องบินรบ สหรัฐและเวียดนามใต้รุกเข้ามาในกัมพูชา โดยการสนับสนุนทางอากาศในชื่อปฏิบัติการเสรีภาพ เมื่อกองกำลังเหล่านี้ถอนตัวออกไป ปฏิบัติการทางอากาศยังคงดำเนินต่อไป เพื่อทำลายการเคลื่อนไหวของเวียดนามเหนือและเวียดกง

ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 ได้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลน นลได้ประกาศว่าเขาเป็นผู้ปลดปล่อยและบังคับให้เจง เฮงซึ่งเป็นประมุขรัฐนับตั้งแต่ปลดพระนโรดม สีหนุให้ลาออกและมอบอำนาจให้เขาแทน ในการฉลองครบรอบ 2 ปีของรัฐประหาร ลน นลมีฐานะเป็นประมุขรัฐแม้จะมีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ลน นลได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเขมร แต่กลับเกิดความแตกแยกภายในมากขึ้น ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2516 มีการลงนามในความตกลงปารีสเพื่อยุติความขัดแย้งในลาวและเวียดนามใต้ ในวันที่ 29 มกราคม ลน นลได้ประกาศหยุดยิงทั้งประเทศ แต่เขมรแดงไม่ยอมรับการหยุดยิงนี้และยังคงสู้รบต่อไป ในเดือนมีนาคมและเมษายนได้รุกเข้าใกล้เมืองหลวงทำให้กองทัพอากาศสหรัฐตัดสินใจทิ้งระเบิดอีก เพื่อผลักดันให้กองกำลังคอมมิวนิสต์ถอยกลับไปในเขตชนบท[18]

สถานการณ์ที่ใกล้เข้ามา

พระนโรดม สีหนุเสด็จเยือนโรมาเนียเมื่อ พ.ศ. 2515

ในช่วง พ.ศ. 2515 – 2516 ทั้งในและนอกประเทศกัมพูชาเชื่อว่าสงครามเป็นเรื่องความขัดแย้งของคนต่างชาติ และไม่มีผลต่อธรรมชาติของคนเขมร ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2516 ยังไม่มีความกังวลในกลุ่มของรัฐบาลถึงท่าทีของเขมรแดงที่ไม่ต้องการเจรจาสันติภาพและความรุนแรงที่ฝังลึกในสังคมผู้นำของเขมรแดง การคงอยู่ของเขมรแดงในฐานะส่วนหนึ่งของรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาพลัดถิ่นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องหลบซ่อน ในพื้นที่ปลดปล่อยจะเรียกว่า"อังการ์" ซึ่งเป็นภาษาเขมรหมายถึงองค์กร

ในช่วงเวลาเดียวกันก็เกิดความขัดแย้งระหว่างเขมรแดงกับเวียดนามเหนือ ผู้นำหัวรุนแรงของพรรคกล่าวหาว่าเวียดนามต้องการสร้างสหพันธรัฐอินโดจีน โดยมีเวียดนามเหนือเป็นผู้นำ เขมรแดงนิยมแนวทางของจีน ส่วนเวียดนามเหนือนิยมแนวทางของสหภาพโซเวียตที่ยอมรับรัฐบาลของลน นล หลังการลงนามในความตกลงปารีส กองทัพประชาชนเวียดนามยุติการส่งความช่วยเหลือทางอาวุธให้เขมรเดงเพื่อกดดันให้เขมรแดงยอมสงบศึก แต่เขมรแดงกลับประนามฮานอย สมาชิกของเขมรแดงที่เคยผ่านการอบรมมาจากเวียดนามมักถูกกลุ่มของพล พต สังหาร[19] นอกจากนั้น เขมรแดงยังแสดงท่าทีในพื้นที่ปลดปล่อยว่าไม่แน่ใจว่าจะสนับสนุนสีหนุตลอดไปหรือไม่ แม้ว่าสีหนุจะทรงพอพระทัยในการคุ้มครองของจีน ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2516 นี้ ผู้จงรักภักดีต่อสีหนุเริ่มถูกขับออกจากรัฐบาลพลัดถิ่น

พนมเปญแตก

การรุกรานพนมเปญครั้งสุดท้าย เดือนเมษายน พ.ศ. 2518เซากัม คอย ผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากลน นล มาถึงฐานทัพสหรัฐที่โอกินาวาเมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2518

เขมรแดงเริ่มโจมตีพนมเปญอีกครั้งเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2518 ทำให้การขนส่งและการคมนาคมในสาธารณรัฐเขมรถูกตัด การเก็บเกี่ยวข้าวและการจับปลาทำได้น้อยลง ประชากรในพนมเปญเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ลี้ภัยจาก 6 แสนคนก่อนสงครามกลายเป็น 2 ล้านคน หนทางที่สาธารณรัฐเขมรจะได้รับความช่วยเหลือคือการขนส่งทางแม่น้ำโขงจากเวียดนามใต้ ต่อมา เขมรแดงควบคุมแม่น้ำไว้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ สหรัฐจึงใช้ความช่วยเหลือทางอากาศ ทหารฝ่ายสาธารณรัฐเขมรยังคงสู้ป้องกันกรุงพนมเปญ ในเดือนมีนาคม มีทหารเขมรแดงราว 40,000 คนล้อมกรุงพนมเปญไว้

ลน นลลี้ภัยออกนอกประเทศในวันที่ 1 เมษายน[20] เซากัม คอยทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดี แต่สถานการณ์ก็เลวร้ายลง ในวันที่ 12 เมษายน สหรัฐตัดสินใจปิดสถานทูตและอพยพคนออกด้วยเฮลิคอปเตอร์ เซากัม คอยได้เดินทางออกนอกประเทศด้วย ลอง โบเรต ลน นน และพระสีสุวัตถิ์ สิริมตะพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีอื่นๆตัดสินใจอยู่ต่อไป[21] และต่อมา ทั้งหมดถูกเขมรแดงประหารชีวิต

หลังจากที่สหรัฐและเซากัม คอยอพยพออกไป สัก สุตสคานทำหน้าที่เป็นประมุขรัฐของสาธารณรัฐเขมรจนกระทั่งล่มสลาย ในวันที่ 15 เมษายน แนวป้องกันเมืองถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ทำลาย ตอนเช้าของวันที่ 17 เมษายน คณะกรรมการตัดสินใจย้ายที่ทำการรัฐบาลไปยังจังหวัดอุดรมีชัยทางตะวันตกเฉียงเหนือ ต่อมาเวลาประมาณ 10.00 น. เสียงของนายพลเม็ย ซี จันของกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐเขมรได้ออกอากาศทางวิทยุประกาศให้กองทัพฝ่ายสาธารณรัฐเขมรหยุดยิงเพราะอยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่มที่ล้อมพนมเปญไว้[22] ในที่สุด สงครามสิ้นสุดโดยเขมรแดงก่อตั้งกัมพูชาประชาธิปไตย พนมเปญว่างเปล่า อพยพผู้คนออกสู่ชนบท ปีศูนย์ได้เริ่มต้นขึ้น

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม